ผ้าหมี่ลายแมงปอ

เมตรละ 350 บาท

ผ้าพร้อมส่ง 15 เมตร

ผู้ทอแม่เมิก

สั่งซื้อ 042-000448

จังหวัดหนองบัวลำภู

ลายขันหมากเบง

เมตรละ 350 บาท

ผ้าพร้อมส่ง 4 เมตร

ผู้ทอแม่เมิก

สั่งซื้อ 042-000448

จังหวัดหนองบัวลำภู

ผ้าหมี่ลายนกยูง

เมตรละ 400 บาท

ผ้าพร้อมส่ง 4 เมตร

ผู้ทอแม่เมิก

สั่งซื้อ 042-000448

จังหวัดหนองบัวลำภู

ลายนกยูงขอบแดง

เมตรละ 450 บาท

ผ้าพร้อมส่ง 30 เมตร

ผู้ทอแม่เมิก

สั่งซื้อ 042-000448

จังหวัดหนองบัวลำภู

NEW
ผ้าหมี่ลายสวยๆทอด้วยฝ้ายคุณภาพ ผลงานแฮนเมคทุกผืน เลื่อนเม้าส์ขึ้นดูเลย /\ /\

Wednesday, March 4, 2015

เกิดอะไรขึ้นเมื่อ มิกเสียงใหม่

มาดูบุญบั้งไฟทางอีสานแบบพื้นๆกัน อันนี้แบบธรรมดาเสียงมาตามธรรมชาติ ก็พอได้ครับ แต่เสียงรบกวนเยอะ เสียงก็ไม่ชัด ใส่เสียงใหม่ดูสิจะเวิกค์ป่าว














   แล้วจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อใส่เสียงใหม่เข้าไป
   ไปดูกันเลยครับ



   โอ้จ๊อจ!  มันเข้ากันได้จริงๆ ใช่เลย ซ่าร่ามันเยีม
    มากเลย ดูช่วงที่ 1:07 นะตรงจังหวะเป๊ะๆเลย จ๊อจ

    ใครชอบแบบไหนมากกว่าก็บอกกันเด้อพี่น้อง

Thursday, February 12, 2015

ผ้าไหมลายหมี่คั่นขอนารี

 ผ้าไหมลายหมี่คั่นขอนารี เป็นลายผ้ามัดหมี่เอกลักษณ์ ของจังหวัดชัยภูมิ เกิดจากการนำหมี่คั่นลายโบราณ มารวมกับ ลายมัดหมี่ขอนารี ซึ่งสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้มีพระราชดำริ ให้อนุรักษ์ไว้ เกิดเป็นลายผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดชัยภูมิขึ้น
        การทอผ้าและผลิตผ้าไหมของคนชัยภูมินั้น จากประวัติที่ได้รับการบอกเล่าและบันทึกไว้บอกว่า ช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (จ.ศ. ๑๑๗๔) พ.ศ.๒๓๖๐ กว่า ๒๐๐ ปี ชาวชัยภูมิได้ผลิตผ้าไหมอย่างดีเป็นที่รู้จักตั้งแต่สมัยของ “พระยาภักดีชุมพล (แล)” เจ้าเมืองชัยภูมิ ที่ชาวชัยภูมิให้การเคารพเป็นอย่างสูง เป็นชาวเมือง เวียงจันทร์ ได้อพยพย้ายถิ่นฐาน มาตั้งเมืองที่เมืองชัยภูมิ ในสมัยนั้นต้องมีการส่งเครื่องบรรณาการไปถวายที่กรุงเทพฯ และเวียงจันทร์ ประเทศลาว และหนึ่งในเครื่องบรรณาการที่สำคัญ คือ ผ้าไหม ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ชาวบ้านมีภูมิปัญญา เรื่องของการทอผ้าไหมสะสมมาเป็นเวลาช้านาน และมีการพัฒนาเรื่องผ้าจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในปัจจุบัน
        ท่านท้าวบุญมี ภรรยาของพระยาภักดีชุมพล (แล) เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญ มีความชำนาญในการเลี้ยงไหม สาวไหม และทอผ้าไหม ได้สอนให้สตรีชาวชัยภูมิ รู้จักการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้า ไม่ว่าจะเป็นผ้ายกขิด ผ้าไหมมัดหมี่ การทำซิ่นคั่น การทอผ้าฝ้าย เป็นต้น นอกจากนั้นท่านยังได้สอนให้มีการประดิษฐ์ คิดลวดลายต่างๆ ขึ้นอีก ไม่ว่าจะเป็นลายหมี่ขอ หมี่คั่น หมี่เอี่ยวเยี่ยวควาย และลายผ้ามัดหมี่อื่นๆ อีกมากมาย เนื่องจากชาวชัยภูมิเป็นผู้มีศิลปะในตัวเอง จึงได้คิดลายมัดหมี่จากสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวมาออกแบบเป็นลายผ้า จนถึงปัจจุบันนี้จังหวัดชัยภูมิ มีลายผ้าโบราณที่มีอายุตั้งแต่ ๕๐ ปีขึ้นไป มีมากกว่า ๕๓๙ ลาย โดยผ้าบางชิ้นมีอายุมากกว่า ๒๐๐ ปี
ที่มา : สำนักอนุรักษ์และตรวจสอบมาตรฐานหม่อนไหม กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ผ้าไหม มัดหมี่

“ชนบท” เป็นเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน มีการตั้งเป็นเมืองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2326 โดยกวนเมืองแสน สมุหกลาโหมแห่งเมืองสุวรรณภูมิ พาสมัครพรรคพวกอพยพหนีออกจากเมือง สุวรรณภูมิ แคว้นจำปาสัก ในประเทศลาว มาตั้งเมืองที่บ้านหนองกองแก้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2335 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านหนองกองแก้วขึ้นเป็นเมือง พระราชทานนามว่า “ชลบถพิบูลย์” ซึ่งแปลว่าทางน้ำหรือเมืองที่มีน้ำล้อมรอบ และตั้งท้าวคำพาวเป็นเจ้าเมือง ตำแหน่งพระจันตะประเทศ จากนั้นได้มีการจัดเขตการปกครองและเมืองชนบทได้ถูกยุบรวมหลายครั้ง จากอำเภอเป็นตำบล ขึ้นกับอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2509 ทางราชการจึงได้ตั้งเมืองชนบทขึ้นเป็นอำเภออีกครั้งหนึ่ง ในชื่อ “ชนบท” จนถึงปัจจุบัน 
        ชาวชนบทมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ทุกครัวเรือนจะมีที่ดินทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ นอกจากอาชีพทำนาแล้ว ก็มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ปลูกฝ้าย เพื่อนำเส้นไหมและฝ้ายมาทอเป็นผืนผ้า ดังคำกล่าวที่ว่า “ยามว่างจากนา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายจักสาน” ในอดีตที่ผ่านมา การทอผ้าถือเป็นหน้าที่สำคัญของผู้หญิงชาวอีสาน เพราะจะต้องทอผ้าเพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มในชีวิตประจำวัน ผู้หญิงอีสานต้องเรียนรู้และฝึกหัดการทอผ้ามาตั้งแต่เด็ก จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ดังคำผญาที่สอนสตรีชาวอีสานว่า “ทอหูกบ่เป็นแจ ทอแพรบ่เป็นฝาต้อน เลี้ยงม่อนบ่ฮู้โตลุกโตนอน อย่าฟ้าววอนเอาผัว” การทอผ้าเพื่อใช้ในครอบครัวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้หญิงอีสานจะต้องเรียนรู้และฝึกหัด โดยเริ่มจากผู้เป็นแม่ได้ถ่ายทอดความรู้และเทคนิควิธีการทอผ้าให้ลูกหลาน สืบทอดกันมาไม่ขาดสาย ผ้าไหมที่ทอได้ นิยมสวมใส่ไปทำบุญที่วัด หรือในงานพิธีและงานมงคลต่างๆ รวมทั้งเก็บไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน 
        อำเภอชนบท เริ่มมีการทอผ้ามาตั้งแต่เมื่อไร ไม่สามารถสืบประวัติได้ แต่มีหลักฐานสำคัญคือ ผ้าไหมมัดหมี่หน้านาง หรือผ้าปูม อายุ กว่า 220 ปี ที่เจ้าเมืองชนบทคนแรกได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โดยทายาทของเจ้าเมืองเป็นผู้เก็บรักษาไว้ ซึ่งต่อมา คนชนบทได้นำมาเป็นต้นแบบในการทอผ้าไหมมัดหมี่หน้านาง ที่มีชื่อเสียงและเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของผ้าไหมชนบทในปัจจุบัน จึงสันนิษฐานว่าการทอผ้าของอำเภอชนบทน่าจะมีมาไม่ต่ำกว่า 100 ปี หรืออาจจะมีมาตั้งแต่เริ่มตั้งเมืองชนบท คือ ประมาณ 200 กว่าปีที่แล้ว ผ้าที่ทอด้วยมือที่มีชื่อเสียงที่สุดของอำเภอชนบท ได้แก่ “ผ้าไหมมัดหมี่” โดยมีขั้นตอนเริ่มจากการคัดเลือกเส้นไหม การออกแบบลายหมี่ การให้สี การทอเป็นผืนผ้า ซึ่งเป็นงานที่ละเอียดอ่อน ผ้าไหมชนบทมีจุดเด่นคือ มีความสวยงาม ลวดลายละเอียดแตกต่างจากที่อื่น 
      เอกลักษณ์ของผ้าไหมชนบท คือ “ลาย”และ “เทคนิคการทอผ้า” ลายเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาและถือว่าเป็นลายต้นแบบและเป็นลายเก่าแก่ของผ้าเมืองขอนแก่น คือ ลายหมี่กง ลายขันหมากเบ็ง ลายขอพระเทพหรือลายเชิงเทียน โดยส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะเป็นการทอผ้าแบบ 3 ตะกอ ทำให้เนื้อผ้าแน่น สม่ำเสมอ มีลักษณะสีและลวดลายของผ้าด้านหนึ่งสีทึบกว่าอีกด้าน สีที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมคือ สีม่วง สีแดง สีเขียว สีเม็ดมะขาม
       เอกลักษณ์ของการทอผ้าอีกแบบหนึ่งของชาวชนบท คือ ผ้าปูมหรือผ้าหน้านาง ซึ่งมีลักษณะแบบโจงกระเบน ประกอบด้วย ลายมัดหมี่บริเวณท้องผ้า ลายมัดหมี่หน้านาง และลายมัดหมี่ริมชายผ้าทั้งสองด้าน
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศหม่อนไหมและประชาสัมพันธ์ กรมหม่อนไหม

Sunday, December 28, 2014

ผ้าไหมมัดหมี่ลายแก้วมุกดา

        จังหวัดมุกดาหารเป็นจังหวัดในภาคอีสาน ในอดีตเป็นเมืองชายแดนปลายพระราชอาณาเขตที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่จนจรดแดนญวน ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อปราบกบฏเจ้าอนุวงษ์ฯ กองทัพกรุงเทพฯ และกองทัพหัวเมือง แถบลุ่มแม่น้ำโขงได้ยกทัพข้ามโขงไปกวาดต้อนผู้คนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง(ดินแดนลาว)ให้อพยพข้ามโขงมาตั้งบ้านตั้งเมืองอยู่ทางฝั่งขวาของ แม่น้ำโขง(ภาคอีสาน) ให้มากที่สุดเพื่อมิให้เป็นกำลังแก่ข้าศึก จังหวัดชายแดน เช่นจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ฯลฯ จึงมีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดมุกดาหารมีอยู่ถึง 8 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ชาวผู้ไทย (ภูไท) ชาวไทยอีสาน ชาวกะโซ่ ชาวข่า ชาวแสก ชาวกุลา และชาวกะเลิง ซึ่งมีการทอผ้าฝ้าย และผ้าไหมเป็นภูมิปัญญามาตั้งแต่โบราณกาล
        ในปี ๒๕๔๕ นายไพรัตน์ สกลพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ได้มีดำริให้มีผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ ของจังหวัดมุกดาหารขึ้นตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่เพื่อรักษาวัฒนธรรมประเพณี ดั้งเดิมให้คงอยู่ จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดมุกดาหาร ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ผู้เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน เพื่อทำการศึกษาและเลือกลายผ้าให้เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดมุกดาหาร และได้พิจารณาให้ ผ้าลายแก้วมุกดา เป็นผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัด

       ผ้าไหมมัดหมี่ลายแก้วมุกดา เป็นการนำเอาลวดลายผ้าโบราณที่มีเอกลักษณ์และมีความหมายของจังหวัดมามัดเป็นลวดลายบนเส้นไหมและทอเป็นผืนผ้า แต่ละลายมีเอกลักษณ์และความหมายสำหรับจังหวัดมุกดาหาร ดังนี้
       1) ลายสายน้ำ (ลายง๊อกแง็ก หรือลายซิกแซก) มีลักษณะเป็นเส้นโค้งสีขาว หมายถึง สัญลักษณ์แทนแม่น้ำโขงซึ่งเป็นสายน้ำคู่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นเส้นกันเขตแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศสาธารณะรัฐประชาชนลาว
       2) ลายนาคน้อย (หรือลายพญานาค) เป็นสัตว์แห่งความอุดมสมบูรณ์ เกี่ยวกับพุทธศาสนาพุทธ ชาวอีสานจะมีการนับถือนาคเป็นวัฒนธรรมร่วมกัน จะปรากฏมีลายนาคในผืนผ้าชาวอีสานมากมายหลายแบบ หมายถึงพญานาคที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงเฝ้าดูแลความเป็นอยู่ของ ชาวเมืองมุกดาหาร
       3) ลายดอกช้างน้าว (ลายดอกกระบวนน้อย) เป็นลายสีเหลืองดอกช้างน้าว ซึ่งเป็นไม้มงคลประจำจังหวัดมุกดาหาร
       4) ลายตุ้มเล็ก(ตุ้มลายไม้) แทนดวงแก้วเล็ก (ดวงดาวในท้องฟ้า)
       5) ลายตุ้มใหญ่ หรือลายมุก มีลักษณะเป็นดอกสีขาวหรือที่เรียกว่าลายตุ้ม หมายถึงแก้วมุกดา ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองมุกดาหาร
       ผ้าไหมมัดหมี่ลายแก้วมุกดา เป็นการนำเอาลวดลายผ้าโบราณที่มีเอกลักษณ์และมีความหมายของจังหวัดมามัดเป็นลวดลายบนเส้นไหมและทอเป็นผืนผ้า แต่ละลายมีเอกลักษณ์และความหมายสำหรับจังหวัดมุกดาหาร ดังนี้
       ลักษณะของผ้าไหมมัดหมี่ลายแก้วมุกดา เป็นผ้ามัดหมี่ มีสี 5 สี คือ สีฟ้า สีเหลืองเข้ม สีน้ำเงิน สีขาว และสีบานเย็น คั่นลายด้วยเส้นไหม 4 สี ได้แก่ ไหมเข็นควบสีน้ำเงินและสีขาว(ไหมหางกระรอก) เส้นไหมสีบานเย็น เส้นไหมสีเหลือง เส้นไหมสีฟ้าคราม เป็นผ้าทอด้วยกี่พื้นเมือง ทอด้วย 5 กระสวย
ข้อมูลจาก : สำนักอนุรักษ์และตรวจสอบมาตรฐานหม่อนไหม กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์